กองนโยบายและแผน เดิมคือ สำนักวางแผนและพัฒนา ตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ.๒๕๓๘ เมื่อสถาบันราชภัฏลำปางได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้มีกฎกระทรวงการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๘ และประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง พ.ศ.๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๙ ข้อ ๑(๒) ให้แบ่งส่วนราชการในสำนักงานอธิการบดี เป็น กองนโยบายและแผน มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานศึกษา วิเคราะห์ นโยบายและแผนจัดการศึกษา และแผนพัฒนาการศึกษา จัดทำโครงการจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งพัฒนาระบบงบประมาณแก่ส่วนราชการและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย การติดตามประเมินผลโครงการ แผนงานและนโยบายที่ได้รับการอนุมัติ ศึกษา วิเคราะห์ และสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานการศึกษา และวางระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการประกันคุณภาพของคณะ และหน่วยสนับสนุนการจัดการศึกษา และดำเนินงานด้านวิเทศสัมพันธ์
โครงสร้างการแบ่งส่วนหน่วยงานของกองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี
การบริหารงานของงานวิเคราะห์นโยบายและแผน อยู่ภายใต้หน่วยงานกองนโยบายและแผน สังกัดสำนักงานอธิการบดี กองนโยบายและแผนได้แบ่งส่วนงานย่อยภายในออกเป็น ๓ หน่วยงาน
บทบาทหน้าที่กองนโยบายและแผนงาน และกลุ่มงาน
๑. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสาน และดำเนินการ เพื่อการจัดทำแผนพัฒนา และแผนเฉพะด้านของมหาวิทยาลัย และส่วนราชการ
๒. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานงาน และดำเนินการเพื่อจัดทำงบประมาณประจำปี และการพัฒนาระบบงบประมาณของมหาวิทยาลัย และส่วนราชการ
๓. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานงาน และดำเนินการวิจัยสถาบัน เพื่อปรับปรุง พัฒนา มหาวิทยาลัย
๔. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานงาน และดำเนินการเพื่อจัดทำมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และส่วนราชการ
๕. ประสานงาน และดำเนินการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และส่วนราชการ
๖. แสวงหา สร้างเสริม พัฒนาความร่วมมือ กับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย
๗. จัดทำผังแม่บท และดำเนินการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัย
บทบาทหน้าที่ของกลุ่มงาน
๑. กลุ่มงานบริหารทั่วไป
๑.๑ ดำเนินงานสารบรรณของกองนโยบายและแผนงาน
- รับ-ส่งหนังสือ/เอกสารของส่วนราชการทั้งภายในและภายนอก
- ร่างและพิมพ์หนังสือติดต่อราชการทั้งภายในและภายนอก
- จัดพิมพ์/จัดทำสำเนา และจัดทำรูปเล่มเอกสาร พร้อมทั้งการแจกจ่ายและเผยแพร่เอกสารทั้งภายในและภายนอก
- จัดเก็บ/ค้นหาหนังสือ เอกสารราชการ และเอกสารอื่นของกองนโยบายและแผนงาน
๑.๒ จัดการประชุมและประสานงาน
- จัดทำหนังสือเชิญประชุม หรือติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมประชุม
- จัดเตรียมด้านเอกสาร สถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นในการประชุม
- บันทึก พร้อมทั้งจัดทำรายงานการประชุม
- ประสานงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับกับกองนโยบายและแผนงาน
๑.๓ ดำเนินงานด้านสวัสดิการของบุคลากรของกองนโยบายและแผนงาน
- ดูแลด้านสถานที่สิ่ง อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของบุคลากร
- ประสานงาน ดูแลด้านสิทธิประโยชน์ และสวัสดิการในการทำงานของบุคลากรในกองนโยบายและแผนงาน
๑.๔ ดำเนินการด้านแผนงาน และงบประมาณ การจัดหาพัสดุ ครุภัณฑ์ของกองนโยบายและแผนงาน
- ประสานการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี ของกองนโยบายและแผนงาน
- ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ของกองนโยบายและแผนงาน
- สำรวจความต้องการด้านวัสดุ ครุภัณฑ์ ของกองนโยบายและแผนงาน และจัดทำแผนการจัดหา
- ดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้าง หรือจัดหาพัสดุ ครุภัณฑ์
- จัดทำทะเบียนและควบคุม ดูแลการใช้งานของพัสดุ ครุภัณฑ์
- บำรุงรักษา ซ่อมแซมวัสดุ และครุภัณฑ์ ให้สามารถใช้งานได้ปกติ
๑.๕ จัดทำมาตรฐานการศึกษาของกองนโยบายและแผนงาน
- ประสานการจัดทำมาตรฐานการศึกษา และการประเมินตนเอง พร้อมจัดทำเอกสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ของกองนโยบายและแผนงาน
- ประสานงาน และเตรียมความพร้อมต่างๆ เพื่อรับการตรวจประเมินจากภายใน และภายนอก
๒. กลุ่มงานวิเคราะห์นโยบายแผน
๒.๑ ดำเนินงาน และประสานการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และแผนเฉพาะด้านของมหาวิทยาลัยและของส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย
- สำรวจ รวบรวม ข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก พร้อมทั้งวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลให้เป็นประโยชน์ในการนำมาใช้ในการจัดทำแผนต่างๆ
- ประสานการการดำเนินการกับส่วนราชการ เพื่อจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และแผนเฉพาะด้านของมหาวิทยาลัย พร้อมจัดทำเป็นเอกสารและเผยแพร่
- ส่งเสริม ประสานงานให้ส่วนราชการของมหาวิทยาลัยจัดทำแผนพัฒนาของส่วนราชการ
- ติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัย และแผนเฉพาะด้านที่ได้รับการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย
- ประสานงานด้านแผนงานกับส่วนราชการภายนอกมหาวิทยาลัย
- เสนอการปรับปรุง พัฒนาแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัย และดำเนินการตามกระบวนการให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์
๒.๒. การดำเนินงาน และประสานการจัดทำงบประมาณ การพัฒนาระบบงบประมาณของมหาวิทยาลัยและของส่วนราชการในมหาวิทยาลัย
- รวบรวม ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านงบประมาณของมหาวิทยาลัย
- ประสาน และดำเนินการจัดทำคำของบประมาณประจำปีของมหาวิทยาลัย
- ประมาณการรายรับของเงินรายได้ พร้อมเสนอกรอบการจัดสรรเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
- ดำเนินการ และประสานการจัดสรรงบประมาณประจำปีกับส่วนราชการ และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณ ให้มีความสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัย
- นำเสนอกรอบการจัดสรรงบประมาณ ข้อมูลประกอบการพิจารณาการจัดสรร และจัดทำแผนปฏิบัติงานงบประมาณประจำปี เพื่อการอนุมัติจากมหาวิทยาลัย
- จัดทำเอกสารแผนปฏิบัติงานงบประมาณ และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่นๆ แก่หน่วยงานส่วนราชการ
- ดูแล ควบคุมการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง สอดคล้องกับเป้าหมาย แผนงบประมาณ ผลผลิต/โครงการ
- โอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณ ของส่วนราชการและมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และแผนงบประมาณ ผลผลิต/โครงการงานที่เปลี่ยนแปลง
- รายงานผลการใช้งบประมาณตามระยะเวลาที่กำหนดต่อมหาวิทยาลัย และส่วนราชการภายนอกที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาระบบงบประมาณของมหาวิทยาลัยให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์
๒.๓. ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์และวิจัยปัญหาของมหาวิทยาลัย
- กำหนดประเด็นปัญหาที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหา ปรับปรุง หรือพัฒนามหาวิทยาลัย พร้อมศึกษาระเบียบวิธีการวิจัยที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือ และเหมาะสมกับประเด็นปัญหา
- ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และนำเสนอผลการวิเคราะห์ วิจัย ต่อมหาวิทยาลัย
๓. กลุ่มงานประกันคุณภาพการศึกษา
๓.๑. การดำเนินงานจัดทำมาตรฐานการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
- ศึกษา วิเคราะห์ แสวงหา และกำหนดรูปแบบการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย
- ถ่ายทอด สร้างความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการประกันคุณภาพการศึกษาแก่บุคลากร
- จัดทำมาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และประสานให้ทุกส่วนราชการได้จัดทำมาตรฐานที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัย
- ประสานให้ทุกส่วนราชการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง และสังเคราะห์เป็นรายงานการประเมินตนเองของมหาวิทยาลัย
- ส่งเสริม ประสานงานการตรวจติดตามประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย และส่วนราชการ ทั้งการตรวจติดตามจากภายใน และภายนอก เช่น สมศ.
- สรุป ประเมิน เสนอแนะ และจัดทำรายงานการดำเนินงาน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาเสนอแก่มหาวิทยาลัย
- ดำเนินกิจกรรมอื่นที่พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย เช่น กิจกรรมการประเมินผลการสอนของอาจารย์ กิจกรรม ๕ส ฯลฯ
๓.๒. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย และส่วนราชการ
- ศึกษา วิเคราะห์ แสวงหา และกำหนดรูปแบบการติดตามประเมินผลที่เหมาะสม
- ติดตาม ประเมินผลกิจกรรม โครงการ แผนงาน และนโยบายที่ได้รับอนุมัติ
- ประสานงาน และเตรียมความพร้อมด้านการติดตามประเมินผลจากหน่วยงานภายนอก เช่น กพร.
- จัดทำรายงานผลการติดตาม ประเมินผล เสนอต่อมหาวิทยาลัย และจัดทำรายงานประจำปีของมหาวิทยาลัย เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัย
๓.๓. การดำเนินงานด้านข้อมูลสารสนเทศ
- รวบรวมข้อมูล สารสนเทศต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และจัดเก็บอย่างเป็นระบบบริการข้อมูล และจัดทำสรุปข้อมูลด้านต่างๆ เป็นประจำปีทุกปี